วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
กำหนดการเรียนรู้ ครั้งที่ 20
วีธีการทางประวัติศาตร์และหลักฐานทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการสีบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยของคนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน โดยไม่หลงเชื่อคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง หรืออ่านหนังสือเพียงเริ่มใดเล่มหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นจริง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของการสืบค้นอดีต เมื่อมีประเด็นที่ต้องการสืบค้นแล้วคือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและละเอียดละออ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น สอบถามผู้รู้ ศึกษาเอกสาร เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหลักฐานทุกชนิดด้วยจิตสำนึกว่า หลักฐานไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด หรือบอกความจริงเสมอไป แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้จากนั้นนำเสนอผลที่ศึกษาได้พร้องอ้างอิงหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่นตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้
วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการสีบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยของคนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน โดยไม่หลงเชื่อคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง หรืออ่านหนังสือเพียงเริ่มใดเล่มหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นจริง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของการสืบค้นอดีต เมื่อมีประเด็นที่ต้องการสืบค้นแล้วคือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและละเอียดละออ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น สอบถามผู้รู้ ศึกษาเอกสาร เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหลักฐานทุกชนิดด้วยจิตสำนึกว่า หลักฐานไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด หรือบอกความจริงเสมอไป แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้จากนั้นนำเสนอผลที่ศึกษาได้พร้องอ้างอิงหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่นตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้
กำหนดการเรียนรู้ ครั้งที่ 19
วิธีการทางประวัติศาสตร์
หมายถึง กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน โดยไม่หลงเชื่อคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง หรืออ่านหนังสือเพียงเล่มใดเล่มหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นจริง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของการสืบค้นอดีต เมื่อมีประเด็นที่ต้องการสืบค้นแล้ว คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและละเอียดลออ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สอบถามผู้รู้ ศึกษาเอกสาร เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหลักฐานทุกชิ้นด้วยจิตสำนึกว่า หลักฐานไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด หรือบอกความจริงเสมอไป แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้ จากนั้นนำเสนอผลที่ศึกษาได้พร้อมอ้างอิงหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่นตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้
คนเราจะเดินหน้าต่อไปได้ยังไงครับ ถ้าไม่รู้อดีตของตัวเอง ของบรรพบุรุษ ของประเทศ อย่างเช่น การเสียกรุง ครั้งที่ หนึ่ง กับสอง เพราะคนไทยเเตกเเยกกันเองนะครับ ผู้นำก็ไม่เข้มเเข็ง การศึกษาปประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เเค่ช่วยการศึกษานะครับ เเต่ยังช่วยให้มองเห็นการผิดพลาด ของบรรพพบุรุษในอดีต เเละ การที่บรรพบุรุษรักกษาเอกราชด้วยการเสียชีวิตตัวเองนั้น ก็เพื่อให้พวกเราเรียกตัวเองไเด้ ว่าเราเป็นคนไทย
ประวัติศาสตร์ไม่ได้มีคุณค่าเเค่การศึกษานะครับ มีคุณค่า ต่อการที่เราจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร เเละมีคุณค่าต่อความเป็นคนไทยครับ มีค่าต่อการศึกษาในเเง่เราได้ศึกษา การเมืองในสมัยนั้น การค้าขาย การพฒนาสังคม วิถีชุมชนในอดีต การวิเคราะห์เหตการณ์ต่างๆๆ เเล้วนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบันเพพื่อวางเเผนป้องกันไม่ให้เกิดผิดพลาดอีก
หลายๆคนอาจพูดว่า อย่าไปสนใจอดีตเลย ผ่านไปปเเล้ว เเต่เค้าเหล่านั้นคิดเเบบไร้สติครับ คนเราต้องเรียนรู้จากอดีต เพื่อหาหนทาง ปป้องกันวางเเผน ในปัจจุบันเเละอนาคต
หมายถึง กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน โดยไม่หลงเชื่อคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง หรืออ่านหนังสือเพียงเล่มใดเล่มหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นจริง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของการสืบค้นอดีต เมื่อมีประเด็นที่ต้องการสืบค้นแล้ว คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและละเอียดลออ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สอบถามผู้รู้ ศึกษาเอกสาร เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหลักฐานทุกชิ้นด้วยจิตสำนึกว่า หลักฐานไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด หรือบอกความจริงเสมอไป แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้ จากนั้นนำเสนอผลที่ศึกษาได้พร้อมอ้างอิงหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่นตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้
คนเราจะเดินหน้าต่อไปได้ยังไงครับ ถ้าไม่รู้อดีตของตัวเอง ของบรรพบุรุษ ของประเทศ อย่างเช่น การเสียกรุง ครั้งที่ หนึ่ง กับสอง เพราะคนไทยเเตกเเยกกันเองนะครับ ผู้นำก็ไม่เข้มเเข็ง การศึกษาปประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เเค่ช่วยการศึกษานะครับ เเต่ยังช่วยให้มองเห็นการผิดพลาด ของบรรพพบุรุษในอดีต เเละ การที่บรรพบุรุษรักกษาเอกราชด้วยการเสียชีวิตตัวเองนั้น ก็เพื่อให้พวกเราเรียกตัวเองไเด้ ว่าเราเป็นคนไทย
ประวัติศาสตร์ไม่ได้มีคุณค่าเเค่การศึกษานะครับ มีคุณค่า ต่อการที่เราจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างไร เเละมีคุณค่าต่อความเป็นคนไทยครับ มีค่าต่อการศึกษาในเเง่เราได้ศึกษา การเมืองในสมัยนั้น การค้าขาย การพฒนาสังคม วิถีชุมชนในอดีต การวิเคราะห์เหตการณ์ต่างๆๆ เเล้วนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบันเพพื่อวางเเผนป้องกันไม่ให้เกิดผิดพลาดอีก
หลายๆคนอาจพูดว่า อย่าไปสนใจอดีตเลย ผ่านไปปเเล้ว เเต่เค้าเหล่านั้นคิดเเบบไร้สติครับ คนเราต้องเรียนรู้จากอดีต เพื่อหาหนทาง ปป้องกันวางเเผน ในปัจจุบันเเละอนาคต
กำหนดการเรียนรู้ ครั้งที่ 18
การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
คือการวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยการนำข้อมูลที่ได้สืบค้นรวบรวม คัดเลือก และประเมินไว้แล้วนำมาพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ต้องใช้เหตุผลเป็นแนวทางในการตีความเพื่อนำไปสู่การค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง
ความสำคัญนั้นเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด
1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ 1.1 หลักฐานชั้นต้น 1.2 หลักฐานชั้นรอง
2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด 2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต 3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง
1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ 1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ 1.2 หลักฐานชั้นรอง secondary sources หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ
3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artifaceหลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง
คือการวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยการนำข้อมูลที่ได้สืบค้นรวบรวม คัดเลือก และประเมินไว้แล้วนำมาพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ต้องใช้เหตุผลเป็นแนวทางในการตีความเพื่อนำไปสู่การค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง
ความสำคัญนั้นเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด
1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ 1.1 หลักฐานชั้นต้น 1.2 หลักฐานชั้นรอง
2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด 2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต 3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง
1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ 1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ 1.2 หลักฐานชั้นรอง secondary sources หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ
3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artifaceหลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง
กำหนดการเรียนรู้ ครั้งที่ 17
ประโยชน์ของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์
แม้ว่างานวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์จะเป็นเพียงข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งของอดีตก็ตาม ย่อมจะส่งผลมาถึงเหตุการณ์ในปัจจุบัน และอาจมีอิทธิพลไปถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้ ดังนั้นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จึงมีประโยชน์สำคัญดังนี้
8.1 ทำให้เราทราบสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต และเมื่อพบปัญหาที่จะเกิดขึ้นในสภาพเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีก
8.2 ผลการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์สามารถนำมาใช้แก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ในปัจจุบันได้ ทั้งนี้เพราะการวิจัยนี้จะพบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นจุดบกพร่อง ซึ่งสามารถนำมาแก้ไขข้อบกพร่องของงานในปัจจุบันได้
8.3 เนื่องจากความเป็นมาในอดีตเป็นรากฐานของความเป็นอยู่และความเป็นไปในปัจจุบันและส่งผลต่อไปในอนาคตด้วย ดังนั้นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จึงใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบันได้
8.4 เพื่อใช้เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และเป็นพื้นฐานแก่ผู้ที่จะทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป
แม้ว่างานวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์จะเป็นเพียงข้อเท็จจริงส่วนหนึ่งของอดีตก็ตาม ย่อมจะส่งผลมาถึงเหตุการณ์ในปัจจุบัน และอาจมีอิทธิพลไปถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้ ดังนั้นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จึงมีประโยชน์สำคัญดังนี้
8.1 ทำให้เราทราบสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต และเมื่อพบปัญหาที่จะเกิดขึ้นในสภาพเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีก
8.2 ผลการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์สามารถนำมาใช้แก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ในปัจจุบันได้ ทั้งนี้เพราะการวิจัยนี้จะพบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นจุดบกพร่อง ซึ่งสามารถนำมาแก้ไขข้อบกพร่องของงานในปัจจุบันได้
8.3 เนื่องจากความเป็นมาในอดีตเป็นรากฐานของความเป็นอยู่และความเป็นไปในปัจจุบันและส่งผลต่อไปในอนาคตด้วย ดังนั้นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์จึงใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบันได้
8.4 เพื่อใช้เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และเป็นพื้นฐานแก่ผู้ที่จะทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป
กำหนดการเรียนรู้ ครั้งที่ 16
ข้อบกพร่องของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์
เราทราบแล้วว่าการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการค้นหาความจริงทางประวัติศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์หรือความจริงที่ผ่านมาแล้ว งานวิจัยทางด้านนี้มักจะพบข้อบกพร่องที่สำคัญคือ
7.1 ปัญหาหรือเรื่องที่จะทำการวิจัยเป็นเรื่องที่กว้างเกินไป
7.2 มักใช้ข้อมูลชั้นรองมากกว่าข้อมูลชั้นต้น
7.3 ข้อมูลมีไม่เพียงพอ คือผู้วิจัยไม่สามารถแสวงหาข้อมูลมาสนับสนุนผลสรุปได้อย่างเพียงพอ
7.4 การคัดเลือกข้อมูลไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากผู้วิจัยขาดประสบการณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลไม่ดีพอ ทำให้ข้อมูลที่ได้มาไม่น่าเชื่อถือ ไม่ถูกต้อง และไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ นอกจากนี้อาจเกิดจากผู้วิจัยมีอคติ หรือความลำเอียงในการคัดเลือกข้อมูลอีกด้วย
7.5 การวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักตรรกศาสตร์บกพร่อง คือ
1) สรุปผลหรือยอมรับข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลที่ง่ายเกินไป ทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปผลอย่างนั้น
2) ตีความหมายของคำหรือเรื่องราวต่าง ๆ ในข้อมูลผิด
3) การขยายความคลุมกว้างเกินไปทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ
4) ไม่สามารถแยกหาประเด็นสำคัญ ๆ ของข้อเท็จจริงได้
7.6 การวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าของข้อมูลไม่เพียงพอ
7.7 ผู้วิจัยมักจะมีความลำเอียงส่วนตัวเกี่ยวกับลัทธิการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา ทำให้มีแนวโน้มที่จะเขียนรายงานคลาดเคลื่อนไป
7.8 การเขียนรายงานการวิจัยมักขาดการวิเคราะห์ วิจารณ์ และเขียนในรูปแบบที่ไม่ชวนศึกษา เช่น ใช้ภาษากำกวม เขียนเล่นสำนวน วกวน หรือเสริมแต่ง ตลอดจนมีลักษณะเกลี้ยกล่อมให้เชื่อเกินไป ซึ่งวิธีการเขียนดังกล่าวนี้ทำให้น้ำหนักของความเชื่อถือลดน้อยลง
เราทราบแล้วว่าการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการค้นหาความจริงทางประวัติศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์หรือความจริงที่ผ่านมาแล้ว งานวิจัยทางด้านนี้มักจะพบข้อบกพร่องที่สำคัญคือ
7.1 ปัญหาหรือเรื่องที่จะทำการวิจัยเป็นเรื่องที่กว้างเกินไป
7.2 มักใช้ข้อมูลชั้นรองมากกว่าข้อมูลชั้นต้น
7.3 ข้อมูลมีไม่เพียงพอ คือผู้วิจัยไม่สามารถแสวงหาข้อมูลมาสนับสนุนผลสรุปได้อย่างเพียงพอ
7.4 การคัดเลือกข้อมูลไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากผู้วิจัยขาดประสบการณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลไม่ดีพอ ทำให้ข้อมูลที่ได้มาไม่น่าเชื่อถือ ไม่ถูกต้อง และไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ นอกจากนี้อาจเกิดจากผู้วิจัยมีอคติ หรือความลำเอียงในการคัดเลือกข้อมูลอีกด้วย
7.5 การวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักตรรกศาสตร์บกพร่อง คือ
1) สรุปผลหรือยอมรับข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลที่ง่ายเกินไป ทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปผลอย่างนั้น
2) ตีความหมายของคำหรือเรื่องราวต่าง ๆ ในข้อมูลผิด
3) การขยายความคลุมกว้างเกินไปทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ
4) ไม่สามารถแยกหาประเด็นสำคัญ ๆ ของข้อเท็จจริงได้
7.6 การวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าของข้อมูลไม่เพียงพอ
7.7 ผู้วิจัยมักจะมีความลำเอียงส่วนตัวเกี่ยวกับลัทธิการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา ทำให้มีแนวโน้มที่จะเขียนรายงานคลาดเคลื่อนไป
7.8 การเขียนรายงานการวิจัยมักขาดการวิเคราะห์ วิจารณ์ และเขียนในรูปแบบที่ไม่ชวนศึกษา เช่น ใช้ภาษากำกวม เขียนเล่นสำนวน วกวน หรือเสริมแต่ง ตลอดจนมีลักษณะเกลี้ยกล่อมให้เชื่อเกินไป ซึ่งวิธีการเขียนดังกล่าวนี้ทำให้น้ำหนักของความเชื่อถือลดน้อยลง
กำหนดการเรียนรู้ ครั้งที่ 15
6. การวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าข้อมูลในทางประวัติศาสตร์
เนื่องจากการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาแล้วในอดีต จึงมักต้องใช้ข้อมูลซึ่งมาจากรายงานของผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์หรือพยานในเหตุการณ์ ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลจึงจำเป็นจะต้องใช้ความรอบคอบและระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงในสิ่งนั้น ในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์มีการวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าข้อมูลอยู่ 2 แบบคือ
6.1 การวิจารณ์หรือการประเมินภายนอก (External criticism or External appraisal) เป็นการประเมินและพิสูจน์ว่าข้อมูลที่เก็บนั้นเป็นอันเดียวกันกับข้อมูลที่ผู้วิจัยมุ่งจะเก็บหรือไม่ หรือเป็นการพิจารณาว่า “ข้อมูลนั้นเป็นของแท้หรือมีความเป็นจริงหรือไม่” นั่นเอง เช่น เอกสารหรือซากโบราณ วัตถุนั้นเป็นของจริงหรือของปลอมหรือจำลองขึ้นมา จำเป็นจะต้องมี การตรวจสอบและพิสูจน์แหล่งที่มาของข้อมูล เช่น อาจใช้การตรวจสอบลายเซ็น ลายมือ ต้นฉบับ การสะกดคำ การใช้ภาษา สำนวนโวหารในการเขียน ตลอดจนค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องในสมัยเดียวกัน เป็นต้น
ในการวิจารณ์ หรือการประเมินผลภายนอกนี้ อาจพิจารณาได้จาก 3 ประเด็นนี้คือ (กาญจนา มณีแสง. หน้า 103 - 104)
1) สภาพสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลทำให้เกิดหลักฐานชิ้นนั้น
2) ความรู้ทั่วไป เช่น สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของข้อมูลถูกต้องตรงกับความรู้ของเราหรือไม่
3) มีการดัดแปลง ปลอมแปลง ประดิษฐ์เพิ่มเติมให้บิดเบือนไปจากความเป็นจริงหรือไม่
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามใช้วิธีการทดสอบทางฟิสิกส์และเคมี ในการตรวจสอบอายุของโครงกระดูก กระดาษ ใบลาน หมึก แผ่นหนัง หนังสือ ก้อนหิน โลหะ เสื้อผ้า ฯลฯ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าสามารถตรวจสอบได้ เช่น การตรวจสอบหาอายุของโครงกระดูกมนุษย์โบราณโดยใช้ C14 ที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น อันจะช่วยให้เราตัดสินได้ว่าข้อมูลนั้นเป็นของแท้หรือมีความเป็นจริงเพียงใดได้
6.2 การวิจารณ์หรือการประเมินผลภายใน (Internal criticism or Internal appraisal) เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่ลึกซึ้งลงไปอีก เพื่อทราบว่า ข้อมูลนั้นมีคุณภาพที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้หรือไม่ มีคุณค่าเพียงใด โดยพิจารณาถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นดังนี้
1) พิจารณาผู้เขียนว่าเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้หรือไม่ มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ หรือรู้เห็นในเรื่องนั้น ๆ จริงหรือไม่เพียงใด
2) พิจารณาว่าผู้เขียนเขียนในขณะที่มีสภาพจิตใจที่เป็นปกติหรือไม่ เช่น ไม่ได้อยู่ในสภาวะที่ถูกบีบบังคับให้เขียน หรือมีความกดดันทางอารมณ์
3) พิจารณาว่าผู้เขียนบันทึกหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้วนานเท่าใด พอจะเชื่อถือได้หรือไม่ว่ายังจำเหตุการณ์นั้นได้
4) พิจารณาว่าเอกสารนั้นมีบรรณานุกรมที่แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนได้ค้นคว้ามามากน้อยเพียงใด
5) พิจารณาว่าข้อความที่เขียนนั้นมีอคติเกี่ยวกับศาสนา เชื้อชาติ ลัทธิการเมือง ผลประโยชน์ส่วนตัว หรือสภาวะทางเศรษฐกิจหรือไม่
6) พิจารณาว่าภาษาหรือสำนวนที่ใช้หรือเรื่องราวที่รายงานนั้นอ้างอิงมาจากบุคคลอื่น ๆ หรือเป็นคำพูดของผู้เขียนเอง
7) พิจารณาว่าการเขียนนั้นมีแรงจูงใจในการบิดเบือนความจริงหรือไม่ เช่น การได้รับแหล่งเงินสนับสนุน เป็นต้น
8) พิจารณาว่าเอกสารนั้นพอเพียงทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณที่จะนำมาใช้ในการวิจัยหรือไม่
9) พิจารณาการจัดเรียงหัวข้อว่าวกไปวนมาหรือไม่ และในแต่ละหัวข้อผู้เขียนกล่าวถึงเรื่องนั้น ๆ ละเอียดมากน้อยเพียงใด
10) พิจารณาว่าผู้อื่นเห็นด้วยกับผู้เขียนนั้นหรือไม่
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เอกสารหรือข้อมูลเหล่านั้นมีความถูกต้องเที่ยงตรงและเชื่อถือได้เพียงใด แต่เมื่อได้พิสูจน์ว่า เอกสารนั้น ๆ มีความถูกต้องเที่ยงตรงแล้ว ย่อมจะเห็นหลักฐานที่เชื่อถือได้
เนื่องจากการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาแล้วในอดีต จึงมักต้องใช้ข้อมูลซึ่งมาจากรายงานของผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์หรือพยานในเหตุการณ์ ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลจึงจำเป็นจะต้องใช้ความรอบคอบและระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงในสิ่งนั้น ในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์มีการวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าข้อมูลอยู่ 2 แบบคือ
6.1 การวิจารณ์หรือการประเมินภายนอก (External criticism or External appraisal) เป็นการประเมินและพิสูจน์ว่าข้อมูลที่เก็บนั้นเป็นอันเดียวกันกับข้อมูลที่ผู้วิจัยมุ่งจะเก็บหรือไม่ หรือเป็นการพิจารณาว่า “ข้อมูลนั้นเป็นของแท้หรือมีความเป็นจริงหรือไม่” นั่นเอง เช่น เอกสารหรือซากโบราณ วัตถุนั้นเป็นของจริงหรือของปลอมหรือจำลองขึ้นมา จำเป็นจะต้องมี การตรวจสอบและพิสูจน์แหล่งที่มาของข้อมูล เช่น อาจใช้การตรวจสอบลายเซ็น ลายมือ ต้นฉบับ การสะกดคำ การใช้ภาษา สำนวนโวหารในการเขียน ตลอดจนค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องในสมัยเดียวกัน เป็นต้น
ในการวิจารณ์ หรือการประเมินผลภายนอกนี้ อาจพิจารณาได้จาก 3 ประเด็นนี้คือ (กาญจนา มณีแสง. หน้า 103 - 104)
1) สภาพสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลทำให้เกิดหลักฐานชิ้นนั้น
2) ความรู้ทั่วไป เช่น สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของข้อมูลถูกต้องตรงกับความรู้ของเราหรือไม่
3) มีการดัดแปลง ปลอมแปลง ประดิษฐ์เพิ่มเติมให้บิดเบือนไปจากความเป็นจริงหรือไม่
ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามใช้วิธีการทดสอบทางฟิสิกส์และเคมี ในการตรวจสอบอายุของโครงกระดูก กระดาษ ใบลาน หมึก แผ่นหนัง หนังสือ ก้อนหิน โลหะ เสื้อผ้า ฯลฯ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าสามารถตรวจสอบได้ เช่น การตรวจสอบหาอายุของโครงกระดูกมนุษย์โบราณโดยใช้ C14 ที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น อันจะช่วยให้เราตัดสินได้ว่าข้อมูลนั้นเป็นของแท้หรือมีความเป็นจริงเพียงใดได้
6.2 การวิจารณ์หรือการประเมินผลภายใน (Internal criticism or Internal appraisal) เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่ลึกซึ้งลงไปอีก เพื่อทราบว่า ข้อมูลนั้นมีคุณภาพที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้หรือไม่ มีคุณค่าเพียงใด โดยพิจารณาถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นดังนี้
1) พิจารณาผู้เขียนว่าเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้หรือไม่ มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ หรือรู้เห็นในเรื่องนั้น ๆ จริงหรือไม่เพียงใด
2) พิจารณาว่าผู้เขียนเขียนในขณะที่มีสภาพจิตใจที่เป็นปกติหรือไม่ เช่น ไม่ได้อยู่ในสภาวะที่ถูกบีบบังคับให้เขียน หรือมีความกดดันทางอารมณ์
3) พิจารณาว่าผู้เขียนบันทึกหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้วนานเท่าใด พอจะเชื่อถือได้หรือไม่ว่ายังจำเหตุการณ์นั้นได้
4) พิจารณาว่าเอกสารนั้นมีบรรณานุกรมที่แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนได้ค้นคว้ามามากน้อยเพียงใด
5) พิจารณาว่าข้อความที่เขียนนั้นมีอคติเกี่ยวกับศาสนา เชื้อชาติ ลัทธิการเมือง ผลประโยชน์ส่วนตัว หรือสภาวะทางเศรษฐกิจหรือไม่
6) พิจารณาว่าภาษาหรือสำนวนที่ใช้หรือเรื่องราวที่รายงานนั้นอ้างอิงมาจากบุคคลอื่น ๆ หรือเป็นคำพูดของผู้เขียนเอง
7) พิจารณาว่าการเขียนนั้นมีแรงจูงใจในการบิดเบือนความจริงหรือไม่ เช่น การได้รับแหล่งเงินสนับสนุน เป็นต้น
8) พิจารณาว่าเอกสารนั้นพอเพียงทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณที่จะนำมาใช้ในการวิจัยหรือไม่
9) พิจารณาการจัดเรียงหัวข้อว่าวกไปวนมาหรือไม่ และในแต่ละหัวข้อผู้เขียนกล่าวถึงเรื่องนั้น ๆ ละเอียดมากน้อยเพียงใด
10) พิจารณาว่าผู้อื่นเห็นด้วยกับผู้เขียนนั้นหรือไม่
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เอกสารหรือข้อมูลเหล่านั้นมีความถูกต้องเที่ยงตรงและเชื่อถือได้เพียงใด แต่เมื่อได้พิสูจน์ว่า เอกสารนั้น ๆ มีความถูกต้องเที่ยงตรงแล้ว ย่อมจะเห็นหลักฐานที่เชื่อถือได้
กำหนดการเรียนรู้ ครั้งที่ 14
5. ลำดับขั้นของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ มีลำดับขั้นในการทำดังนี้
5.1 เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย จุดประสงค์ก็คือ
1) เพื่อช่วยในการกำหนดขอบข่ายของงานวิจัย
2) เพื่อช่วยให้สามารถพิจารณาได้ว่าหัวข้อปัญหาในการวิจัยนี้เหมาะสมหรือไม่ จะหาข้อมูลได้จากที่ไหน
3) เพื่อช่วยให้สามารถพิจารณาได้ว่า ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์หรือมีคุณค่าต่อการศึกษาหรือไม่
5.2 ตั้งจุดมุ่งหมายของการวิจัย โดยอาจจะตั้งเป็นสมมติฐานเพื่อช่วยให้สามารถกำหนดรูปแบบของการวิจัยได้
5.3 รวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจจะได้จากแหล่งปฐมภูมิหรือแหล่งทุติยภูมิ ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องทราบว่า จะศึกษาข้อมูลนั้นได้จากไหน ค้นคว้าได้โดยวิธีใด
5.4 จัดกระทำข้อมูลที่รวบรวมได้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ วิจารณ์ข้อมูล
5.5 ประเมินผลข้อมูล โดยทำการวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าทั้งภายนอกและภายใน
5.6 เขียนรายงานการวิจัย ซึ่งอาจเขียนได้เป็น 2 แบบด้วยกันคือ
1) เสนอตามลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง
2) เสนอตามกรอบหรือโครงร่างของเนื้อหาวิชา
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ มีลำดับขั้นในการทำดังนี้
5.1 เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย จุดประสงค์ก็คือ
1) เพื่อช่วยในการกำหนดขอบข่ายของงานวิจัย
2) เพื่อช่วยให้สามารถพิจารณาได้ว่าหัวข้อปัญหาในการวิจัยนี้เหมาะสมหรือไม่ จะหาข้อมูลได้จากที่ไหน
3) เพื่อช่วยให้สามารถพิจารณาได้ว่า ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์หรือมีคุณค่าต่อการศึกษาหรือไม่
5.2 ตั้งจุดมุ่งหมายของการวิจัย โดยอาจจะตั้งเป็นสมมติฐานเพื่อช่วยให้สามารถกำหนดรูปแบบของการวิจัยได้
5.3 รวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจจะได้จากแหล่งปฐมภูมิหรือแหล่งทุติยภูมิ ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องทราบว่า จะศึกษาข้อมูลนั้นได้จากไหน ค้นคว้าได้โดยวิธีใด
5.4 จัดกระทำข้อมูลที่รวบรวมได้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ วิจารณ์ข้อมูล
5.5 ประเมินผลข้อมูล โดยทำการวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าทั้งภายนอกและภายใน
5.6 เขียนรายงานการวิจัย ซึ่งอาจเขียนได้เป็น 2 แบบด้วยกันคือ
1) เสนอตามลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง
2) เสนอตามกรอบหรือโครงร่างของเนื้อหาวิชา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ข่าว
ความรู้สึกที่ได้รับ
ทัมให้รู้จักการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้กับวิชาประวัติศาสตร์ซึ่งทัมให้การเรียนประวัติศาสตร์ดูมีมิติมากขึ้นและไม่น่าเบื่ออีกต่อไป